Suthawan PumPui @-@

รูปภาพของฉัน
เป็นตัวของตัวเองดีที่ซู้ด

ป.บัณฑิต ไปค่ายพัฒนาโรงเรียน


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝนหลวง




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆตามลำดับดังนี้
ขั้นตอน ที่ หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่ เมฆ ธรรมชาติ เริ่ม ก่อตัวทางแนวตั้ง การ ปฏิบัติการ ฝนหลวง ใน ขั้นตอน นี้ จะมุ่ง ใช้ สารเคมี ไป กระตุ้นให้มวลอากาศ เกิดการ ลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการ ชักนำ ไอน้ำ หรือ ความชื้น เข้า สู่ ระบบ การ เกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการ ในขั้นตอนนี้ ไม่ควร เกิน 10.00 น. ของ แต่ละ วัน โดย การใช้ สารเคมี ที่ สามารถ ดูดซับ ไอน้ำ จาก มวล อากาศ ได้แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ) เพื่อ กระตุ้น กลไก ของ กระบวนการ กลั่นตัว ไอน้ำ ใน มวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้ เหมาะสม ต่อ การเจริญ เติบโต ของ เมฆ ด้วย) ทางด้าน เหนือ ลม ของ พื้นที่ เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่ม เกิดมีการก่อตัว และ เจริญ เติบโต ทางตั้ง แล้ว จึง ใช้ สารเคมี ที่ ให้ ปฏิกิริยา คาย ความร้อน โปรย เป็น วงกลม หรือ เป็น แนว ถัดมาทางใต้ ลม เป็น ระยะ ทาง สั้นๆ เข้า สู่ ก้อนเมฆ เพื่อ กระตุ้น ให้ เกิด กลุ่ม แกนร่วม (main cloud core) ใน บริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็น ศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอน ต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"
เป็น ขั้นตอน ที่ เมฆ กำลังก่อตัวเจริญ เติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ ฝนหลวง เพราะ จะต้อง ไปเพิ่มพลังงาน ให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้องใช้เทคโนโลยี และ ประสบการณ์ หรือ ศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กันเพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมี ฝนหลวง ชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสมเพราะต้องให้กระบวนการเกิด ละออง เมฆ สมดุล กับ ความแรง ของ updraft มิฉะนั้น จะ ทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของ กรรมวิธีปฏิบัติการ ฝนหลวงเมฆหรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายหากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญและอาศัยประสบการณ์มากเพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือ ทำให้ อายุ ของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมาย ของ การทำฝนหลวง ซึ่งมี อยู่ 2 ประเด็น คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้ เกิดการกระจาย การตกของ ฝน (Rain redistribution)

ที่มา http://www.chaipat.or.th วันที่ 8 กพ 53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น